CMRU Human Rights Project
คู่มือ "สิทธิมนุษยชน" ออนไลน์ สำหรับบุคคลทั่วไป
คู่มือ "สิทธิมนุษยชน" ออนไลน์ สำหรับบุคคลทั่วไป
สิทธิ (Right) หมายถึง อำนาจของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่กฎหมายรับรอง และคุ้มครองให้ ที่จะทำการใดก็ได้อย่างอิสระ โดยได้การรับรองจากกฎหมาย เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในชีวิตและร่างกาย หรือในตามความหมายทั่วไป คือ สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
เสรีภาพ (Freedom, Liberty) ความสามารถที่จะกระทำการใดๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพใน การนับถือศาสนา โดยที่เสรีภาพของเราต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
เสรีภาพเชิงบวก หมายถึง เสรีภาพในการกระทำตามเหตุผลและเจตจำนงของตนเอง หรือทำตามสิ่งที่เราคิดว่าเป็น "ตัวตนที่แท้จริง" ของตนเอง ซึ่งบางครั้งมักถูกผูกติดกับค่านิยมทางศาสนา และมักถูกใช้ในการสร้างโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐเผด็จการ
เสรีภาพเชิงลบ หมายถึง เสรีภาพที่จะกระทำการใดๆ โดยปราศจากจากการถูกบังคับขัดขวางโดยอำนาจของบุคคลอื่น สังคม หรือรัฐ เป็นเสรีภาพที่ควรได้รับการคุ้มครองที่สุด
ความเสมอภาค (Equality) ในทางปรัชญาหมายถึง การจัดสรรที่สังคมจัดให้แต่ละคนเท่าเทียมกัน ซึ่งไม่ได้หมายถึง ความเท่าเทียมทางกายภาพ แต่เป็น สิทธิที่ควรได้รับ, การได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน, การเสมอภาคกันในทางกฎหมาย และความเสมอภาคในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการบ้านเมือง
ความเสมอภาคของผลลัพท์ (Equality of Outcome) หมายถึง การที่รัฐจัดสรรผลประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ประชาชนเท่าเทียมกัน เพื่อให้แต่ละคนครอบครองผลประโยชน์เหล่านั้นเท่าเทียมกัน
ข้อดีคือ ในบางกรณีทำให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
ข้อเสียคือ หากกล่าวว่าทุกคนมีความสามารถไม่เท่ากัน มีทั้งคนมีความสามารถมาก มีทั้งคนที่มีความสามารถน้อย แต่ผลลัพท์ ทุกคนได้เงินเท่ากัน อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เสมอภาค
ความเสมอภาคของโอกาส (Equality of Opportunity) หมายถึง การที่รัฐจะจัดการให้แต่ละคนมีโอกาสที่เท่าเทียมกัน ในการแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งดีๆ ที่แต่ละคนต้องการ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่รัฐจะสามารถจัดสรรให้ได้
หลักความเสมอภาค ทำให้รัฐธรรมนูญต้องรับรองหลักการ ห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม (Discrimination) ไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่าการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น ธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยเหตุความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา
การกล่าวอ้างสิทธิและเสรีภาพ มาตรา 25 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชน ย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่นย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ สิทธิส่วนบุคคล (มาตรา 32)
มาตรา 32 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษตามคำพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่า เป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในกรณีที่มีการกระทำซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทำเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกำหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้
เสรีภาพในการถือศาสนามีการรับรองและคุ้มครองไว้อย่างสมบูรณ์ คือ ไม่สามารถจำกัดเสรีภาพในการนับถือศาสนาได้ แต่การรับรองโดยสมบูรณ์นี้ ไม่รวมถึงการแสดงออก
ดังนั้นทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาตามมาตรา 31 รวมถึงเสรีภาพในการไม่นับถือศาสนาด้วย การแสดงออกซึ่งความเชื่อในทางศาสนา ย่อมถูกจำกัดเสรีภาพได้โดยกฎหมาย เสรีภาพในการนับถือศาสนา ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
สิทธิส่วนบุคคล (มาตรา 32) คือ สิทธิประจำตัวของบุคคลอันประกอบด้วย เสรีภาพในร่างกาย การดำรงชีวิตมีความเป็นส่วนตัว
ความเป็นอยู่ส่วนบุคคล คือ สถานะที่บุคคลจะรอดพ้นจากการสังเกตการรู้เห็น การสืบความลับ การรบกวนต่าง ๆ และมีความสันโดษ
การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใดไม่สามารถทำได้ เว้นแต่การอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ตามมาตรา 33 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข
การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการค้นเคหสถาน หรือที่รโหฐาน ไม่สามารถกระทำได้ เว้นแต่ มีหมายศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพจะสามารถกระทำได้ เมื่ออาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเฉพาะ
ตามมาตรา 34 วรรคสอง Academic Freedom คือ เสรีภาพของผู้สอนหรือผู้เรียนในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยปราศจากความหวาดกลัวต่อการแทรกแซงตามอำเภอใจจากทางราชการ การใช้เสรีภาพทางวิชาการนั้น ต้องไม่ขัดต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย หรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน และต้องเคารพและไม่ปิดกั้นความเห็นต่างของบุคคลอื่น
ดังนั้น เสรีภาพทางวิชาการ คือ ความมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาและความมุ่งหมายของวิชาที่สอน ตลอดถึงการสอนในห้องเรียน ความมีอิสระจากการควบคุมในการแสวงหาความรู้ การวิจัย และการแสดงออกทางความคิดเห็นเชิงสร้างสรรค์ มีอิสระในการพูด และเขียนในฐานะพลเมืองผู้หนึ่ง โดยไม่ถูก "เซ็นเซอร์"
เราไม่สามารถแสดงความคิดเห็นแทนผู้อื่น หรือสถาบันใดๆ ได้ มหาลัยจะย้ำเสมอว่าจะไม่วินิฉัยตัดสินใจต่อคำถามหรือปัญหาที่กำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสาธารณะในนามของมหาวิทยาลัย แต่ให้สิทธิทุกคนที่เป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัยสามารถแสดงความคิดเห็นได้ในฐานะส่วนบุคคล
กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง
มาตรา 138 บัญญัติว่า ทรัพย์สิน หมายถึง วัตถุที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคา และมนุษย์สามารถเข้าไปยึดถือเอาเป็นเจ้าของได้ ซึ่งเจ้าของทรัพย์สิน มีสิทธิในการ ใช้สอย, จำหน่ายจ่ายตอน, สิทธิ์ได้ดอกผลในทรัพย์สิน และสิทธิ์ขัดขวางมิให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน
"สิ่งที่มีรูปร่าง" หมายถึง สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา และจับต้องสัมผัสได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ, บ้าน, รถ
"สิ่งที่ไม่มีรูปร่าง" หมายถึง สิ่งที่ไม่สามารถมองเห็น และไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น พลังงาน, แก๊ส, กรรมสิทธิ, สิขสิทธิ์ และ สิทธิบัตร
เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ หมายถึง สิทธิตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งมีศักดิ์สูงกว่าสิทธิตามกฏหมายธรรมดา เป็นสิทธิที่ประชาชนจะมีเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อนสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยสงบ หรือเพื่อเรียกร้องแสดงความคิดเห็นต่อรัฐ
โดยการชุมนุมต้องมีวัตถุประสงค์ที่สุจริต ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายแก่บ้านเมือง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยลักษณะของการชุมนุมโดยสงบมี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การชุมนุมอยู่กับที่ (assembly) ซึ่งชุมนุมกลางแจ้ง และไม่มีการเคลื่อนย้ายไปในที่ต่างๆ
2. การเดินขบวน (demonstration) คือการชุมนุมที่เดินขบวนไปตามท้องถนน หรือสถานที่ต่างๆ ในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระบบระเบียบ
การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธจะทำได้เมื่ออาศัยอำนาจแห่งกฎหมายตราขึ้นเพื่อ
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความที่ผู้อื่นติดต่อสื่อสารกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่